วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

รูปแบบภาวะผู้นำของข้าราชการครูระดับบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครปฐม

Title Alternative
Leadership styles of the administrators in primary schools under the jurisdiction of the office of provincial primary education Nakhon Pathom

Organization : โรงเรียนบ้านนาสร้าง
Subject
Classification :.DDC: 371.1106
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำในแต่ละรูปแบบของข้าราชการครูระดับบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครปฐม 2) เปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำของแต่ละรูปแบบของข้าราชการครูระดับบริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำแนกตาม เพศ อายุ ตำแหน่ง ระดับวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงานบริหาร ขนาดของ โรงเรียน และโอกาสความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 104 คน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 104 คน และหัวหน้าสายชั้นเรียน จำนวน 104 คนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครปฐม รวม 312 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ระดับภาวะผู้นำในแต่ละรูปแบบของข้าราชการครูระดับบริหาร โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครปฐม มีภาวะผู้นำ แบบประชาธิปไตยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือรูปแบบภาวะผู้นำแบบอัตตาธิปไตยและ แบบตามสบายอยู่ในระดับปานกลาง ภาวะผู้นำทั้ง 3 รูปแบบของข้าราชการครูระดับบริหารโรงเรียนประถมศึกษาจำแนกตาม เพศ อายุ ตำแหน่ง ระดับวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงานบริหาร ขนาดของโรงเรียนและโอกาสความเจริญก้าวหน้ามีระดับภาวะผู้นำแต่ละรูปแบบไม่แตกต่างกัน The purposes of this research were to study 1) the levels of leadership styles among the administrators of the primary schools under the Office of Provincial Primary Education, Nakhon Pathom and 2) the comparisons of the levels of the primary school administrators, regarding their gender, age, position, education, administrative experience, and opportunity for job promotion.. The 312 samples consisted of 104 administrators, 104 assistants of administrators, and 104 heads of educational programs in the primary schools under the Office of Provincial Primary Education, Nakhon Pathom. The instrument was a set of constructed questionnaire. The statistics used for analyzing the acquired data were percentage, arithmetic means ( ), standard deviation (S.D.), t-test and one-way analysis of variance (ANOVA). The findings showed all of the leadership styles of the administrators of the primary schools under the Office of Provincial Primary Education, Nakhon Pathom were mostly found democratic at high levels, whereas the leadership styles were found dictatorial and laissez fair at medium levels. The comparisons among the three leadership styles showed no significant differences regarding to the primary school administrators’ gender, age, position, education, administrative experience, and opportunity for job promotion.
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: นครปฐม
Email: libnpru55@gmail.com
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date
Created: 2546
Modified: 2549-09-27
Issued: 2548-08-04
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
Source
CallNumber: ว 371.1106 ส856ร 2546
Language
tha
Coverage
Spatial: นครปฐม
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี ตามการรับรู้ของครู
Title Alternative
THE SECONDARY SCHOOL ADMINISTRATORS’ LEADERSHIP ACCORDING TO THE PERCEPTION OF TEACHERS UNDER THE GENERAL EDUCATION DEPARTMENT IN KANCHANABURI PROVINCE

Organization : โรงเรียนประชามงคล จ.กาญจนบุรี
Subject
ThaSH:
Classification :.DDC: 370.2
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ตามการรับรู้ของครู ตามแนวความคิดของแบสและ อโวลิโอ (Bernard M. Bass and Bruce J. Avolio) ศึกษาระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำ ตามแนวความคิดของเซอร์จิโอวานนี (Thomas J. Sergiovanni ) ใน 4 องค์ประกอบ ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ตามการรับรู้ของครู และเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำตามแนวความคิดของเซอร์จิโอวานีใน 4 องค์ประกอบ ของ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ตามการรับรู้ของครู ในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 33 แห่ง โดยมีครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 290 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารตามแนวคิดของแบสและอโวลิโอ ซึ่งประกอบด้วยภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน และภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ จำนวน 30 ข้อ และภาวะผู้นำของผู้บริหารตามแนวคิดของเซอร์จิโอวานนี ใน 4 องค์ประกอบ คือ ทักษะความเป็น ผู้นำ สิ่งที่มีมาก่อนในตัวผู้นำ สิ่งที่จำเป็นต้องมีขณะที่เป็นผู้นำ และสิ่งซึ่งแสดงความรู้สึกทางวัฒนธรรมของผู้บริหาร จำนวน 30 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับรวมเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ (frequencies) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) เมื่อพบความแตกต่าง จึงทำการทดสอบรายคู่ โดยเชฟเฟ่ (Scheffe\\\\\\\' test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ตามการรับรู้ของครู ตามแนวความคิดของแบสและอโวลิโอ โดยภาพรวม ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาใช้ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนและภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกตามขนาด พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ใช้ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ อยู่ในระดับมาก และใช้ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง และขนาดเล็ก ใช้ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนและภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ อยู่ในระดับปานกลาง 2. ระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ตามการรับรู้ของครู ตามแนวความคิดของ เซอร์จิโอวานนี โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบ พบว่าอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ สิ่งที่จำเป็นต้องมีขณะที่เป็นผู้นำ สิ่งซึ่งแสดงความรู้สึกทางวัฒนธรรมของผู้บริหาร และสิ่งที่มีมาก่อนในตัวผู้นำ ตามลำดับ และด้านทักษะความเป็นผู้นำ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกตามขนาด พบว่า ระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนขนาดเล็ก อยู่ในระดับมาก ระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง 3. ระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ตามการรับรู้ของครู ตามแนวความคิดของ เซอร์จิโอวานนี โดยภาพรวม พบว่า การรับรู้ของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีขนาดต่างกัน ได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดใหญ่ มีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนโดยรวมไม่แตกต่างกันและเมื่อพิจารณาในแต่ละองค์ประกอบ พบว่า พฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ที่มีขนาดต่างกัน ไม่แตกต่างกัน
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กาญจนบุรี
Email: tdc@kru.ac.th
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Role: กรรมการที่ปรึกษา
Role: กรรมการที่ปรึกษา
Date
Created: 2545
Issued: 2548-09-30
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
ISBN: 9747540169
Language
tha
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


การศึกษาการใช้ภาวะผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ ตามทัศนะของครูผู้สอน
Title Alternative
A Study of Exercise of the Transformational Leadership Style of Primary School Administrators in Chaiyaphum as Perceived by Teachers

Classification :.DDC: 371.201
Description
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการใช้ภาวะผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ ตามทัศนะของครูผู้สอน ใน 4 ด้าน คือ ด้านการสร้างบารมี ด้านการคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ การเปรียบเทียบทัศนะของครูผู้สอนตามสถานภาพของผู้บริหารโรงเรียน ได้แก่ อายุ การเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหาร และประสบการณ์การบริหาร และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 528 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า ใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การหาค่าทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) และทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการ ของ Sheffe’ ผลการศึกษาพบว่า 1. ทัศนะของครูผู้สอน ที่มีต่อการใช้ภาวะผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่อยู่ในระดับสูงคือด้านการสร้างบารมี 2. ทัศนะของครูผู้สอน ที่มีต่อการใช้ภาวะผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนเปรียบเทียบตามอายุ การเข้าสู่ตำแหน่ง และประสบการณ์การบริหาร ของผู้บริหารโรงเรียน ไม่แตกต่างกันทั้งโดยรวม และรายด้าน 3. ทัศนะของครูผู้สอน ที่มีต่อการใช้ภาวะผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านคือด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purposes of this study were to study and compare the teachers’ perceived in the transformational leadership style of primary school administrators in Chaiyaphum in 4 aspects : charismatic individualized consideration intellectual stimulation and inspiration. The 528 samples used in this study were teachers. The tool used for collecting data was rating scale form. The data analysis were implemented by mean ( ), standard deviation (S.D.), independent sample test (t-test), one - way ANOVA and Sheffe’s method. The results of the study revealed as follows:- 1. In perceived of teachers the transformational leadership style of primary school administrators were at the medium level in total aspects. But charismatic was at high level. 2. In perceived of teachers the transformational leadership style of primary school administrators to compare with administrators’ age, a positional promotion and experience were not significantly different at the .05 level. 3. In perceived of teachers the transformational leadership style of primary school administrators to compare with size of schools were not significantly different at the .05 level in total aspect. Accept Intellectual stimulation was significantly different at the .05 level.
Publisher
สำนักวิทยบริการและเทคโนดลยีสารสนเทศ
Address: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
Email: si_num42@hotmail.com
Role: ประธานกรรมการ
Role: กรรมการ
Role: กรรมการ
Date
Created: 2545
Modified: 2560-08-18
Issued: 2548-08-05
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
ISBN: 9743161228
Source
CallNumber: 371.201
Language
tha
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การศึกษาภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อทีมงานที่มีประสิทธิภาพของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1-7
Title Alternative
A Study of transformational leadership affecting to efficiency team of school administrators under Nakhon Ratchasima educational service area office 1-7

Organization : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. สาขาการบริหารการศึกษา
Classification :.DDC: 371.201
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.
Address: นครราชสีมา
Role: ประธานกรรมการ
Role: กรรมการ
Role: กรรมการ
Date
Created: 2551
Modified: 2554-09-30
Issued: 2554-06-29
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
Language
tha
Coverage
Spatial: นครราชสีมา
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
















 การวิเคราะห์องค์ประกอบและความสัมพันธ์ ของคุณลักษณะภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ พฤติกรรมภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ และปัจจัยชีวสังคม ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษากับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ผู้สอน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี ปีการศึกษา 2558 จํานวน 331 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งได้ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี โดยรวมและเป็นรายด้านอยูในระดับมาก 2) ประสิทธิผล ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี โดยรวมและเป็นรายด้านอยูในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกดสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01

The purposes of this research were to study transformational leadership of school administrator and effective in administration as basic educational standard belong to the Chanthaburi primary educational service area and study the relationship between transformational leadership of school administrator and effective in administration as basic educational standard belong to the Chanthaburi primary educational service area. The samples were administrators and teachers belong to the Chanthaburi primary educational service area semester 2558 total 331 people. The research instruments were 5-rating scale questionnaires with alpha-coefficient at 0.96. The statistics used for data analysis and hypothesis testing were mean, standard deviation and Pearsons product moment correlation. The results of the study were as follows : 1) transformational leadership of school administrators belong to the Chanthaburi primary educational service are were at the high levels. 2) effective in administration as basic educational standard belong to the Chanthaburi primary educational service are were at the high levels. 3) The relationship between the transformational leadership of school administrators and effective in administration as basic educational standard belong to the Chanthaburi primary educational service area belong was statistically significantly correlated at .01